Breaking News
Home / Innovating / การเพาะปลูก Agile ในองค์กร

การเพาะปลูก Agile ในองค์กร

รดน้ำ ใส่ปุ๋ย พรวนดิน เมล็ดพันธ์ Agile ในองค์กรยังไงได้บ้าง

 

————————————————————————————————–

สรุปก่อน สำหรับคนอยากรีบอ่าน

เมื่อคนในองค์กร “กลัวผิด”

แต่จะ Agile ได้ ต้องไม่กลัวพลาด

เพราะเป็นโอกาสในการเรียนรู้ใหม่ๆ

จะให้เป็นระบบ ต้องเรียนรู้อย่างต่อเนื่อง ซึ่งก็ต้องลองผิดลองถูกเรื่อยๆ อีกต่างหาก

จะทำยังไงดี

มีเทคนิคดูแลต้น Agile ด้วยไอเดียแห่งการใส่ปุ๋ย พรวนดิน รดน้ำ ดังนี้

  1. Oops Meeting : จัดประชุม เพื่อแบ่งปันความผิดพลาดโดยเฉพาะ ซึ่งจริงๆ มันคือ การเรียนรู้
  2. Retrospective : คนที่ใหญ่ที่สุดในห้องประชุม มีหน้าที่ แชร์เรื่องผิดพลาดตัวเองก่อนเลย และขอฟีดแบ็คจากคนในห้องก่อนจะให้ฟีดแบ็คกับใคร และให้บันทึกความรู้เป็น 4 หมวดคือ อะไรที่ทำได้ดี, อะไรที่ทำได้ยังไม่ดี, อะไรที่ได้เรียนรู้และอะไรที่ต้องแก้ไขปรับปรุง

————————————————————————————————–

 

 

ต้นไม้ยอดนิยมสำหรับยุคนี้ ที่อยากจะปลูกให้เป็นป่าในองค์กร สำหรับต้นชื่อ “Agile” 

เมื่อหลายๆ องค์กร “รู้” ว่าต้องปรับตัว ให้รับมือกับการเปลี่ยนแปลงให้ได้ดี ต้องมี Agile ในองค์กร

 

“รู้” ว่าการทำให้ผู้คนในองค์กร  “Agile” จะเอื้อต่อการปรับตัวต่อการเปลี่ยนแปลง

 

ก็เกิดกระแส เห็นคำนี้ที่ไหน ก็ต้องเปิดตา เปิดใจ ไปเรียนรู้ ซึ่งเสมือนไปเอาเมล็ดพันธ์ Agile มาเพาะปลูกในพื้นที่

 

พร้อมจินตนาการว่า

ถ้าต้น Agile งอกงามในองค์กรแล้ว จะเป็นอย่างไร

หลายคนเห็นภาพ ดอกผลของการเพาะต้น Agile แล้ว จะได้องค์กรที่ปราดเปรียว ว่องไวต่อการเปลี่ยนแปลง ซึ่งไม่เพียงแค่ต้องเร็ว แต่ต้องตอบโจทย์ความต้องการของลูกค้า ผู้ใช้งาน ได้ “โดน” และแน่นอน นำมาซึ่งอนาคตที่เติบโต และมีโอกาสโตชนิดก้าวกระโดดด้วย 

 

 

ทั้งนี้ การจะดูแลต้น Agile ให้งอกงาม ก็ต้องมีน้ำ ที่ต้องรดลงต้นนี้ เป็น “การเรียนรู้พัฒนาอย่างต่อเนื่อง Continuous Development/ learning” 

ต้องรดทุกวัน ไม่งั้นเฉาตาย

 

 ขั้นตอนการดูแลต้นนี้ ไม่ใช่แค่มีเมล็ดลงดินแล้วจะโตได้เอง

 

รู้จัก Agile กันแล้ว หลายๆ คนในองค์กร แต่ก็สงสัยว่า ทำไมต้น Agile ไม่ค่อยงอกงาม (หรือ ไม่รู้ว่างอกบ้างแล้วหรือยัง) ในองค์กรเลย

มันเกิดอะไรขึ้น

 

ผู้เขียนได้มีโอกาสสังเกตการณ์และได้ยินเมล็ดพันธ์ Agile คุยกัน

 

ดูท่า หลายๆ องค์กรปลูกต้นนี้แล้ว  แต่เหมือนไม่ได้พรวนดิน ไม่ได้ใส่ปุ๋ย น้ำก็ไม่ได้รด

การพรวนดิน ในที่นี้ จะช่วยให้ต้น Agile มีรากยึดติดกับดินได้ดีขึ้น และรากจะหยั่งลงแข็งแรง และต้นจะงอกได้

 

.

ตัดภาพกลับมาที่เมล็ดพันธ์ Agile ที่คุยกันอย่างตรงไปตรงมา ใน breakout room @zoom ในคลาส Unpack: Leading Agile Execution ใน yournextu (ดูและสอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ yournextu.com หรือ LINE: @yournextu )

 

เมื่อแอบได้ยินเมล็ดพันธ์ Agile เผลอเปรยขึ้นมาอย่างท้อแท้ ว่า

“เราจะกล้าทำผิดได้ยังไง ในเมื่อหัวหน้า และบรรยากาศรอบตัว ก็ไม่ได้สนับสนุนให้เราทำผิดแล้วโอเคบ้างเลย ถ้าเราทำผิด แล้วหัวหน้าไม่เอาด้วย เราจะทำยังไง” 

.

ดูเหมือน ความกลัวการผิดพลาด จะปกคลุม เป็นวัชพืชที่หนาแน่นพอสมควรในดิน

จนดูราวกับจะมีอิทธิพลให้ดินเปรี้ยว ดินเค็ม ดินไม่กลมกล่อม 

 

ก็ในเมื่อ การจะเจอสิ่งใหม่ หรือที่เรียกง่ายๆ ว่า การทำนวัตกรรม ที่เป็น ทางแก้ปัญหาแบบสร้างสรรค์ และตอบโจทย์ผู้ใช้งานได้ดีกว่าเดิมนั้น

ต้อง “ลองผิด ลองถูก” ถ้าไม่ลองอะไรใหม่ ก็ไมไ่ด้รู้อะไรใหม่ แต่เมื่อลองอะไรใหม่ ก็มีโอกาสอยู่แล้ว ที่จะลองผิด ก่อนจะไปเจอทางที่ถูก

เรียกว่า การล้มเหลว คือสัญลักษณ์ว่า เราได้ทดลองทำอะไรใหม่ที่เราไม่เคยทำมาก่อน

ซึ่งเป็นสิ่งที่เอื้อต่อการก่อให้เกิดนวัตกรรม

 

แต่การที่วัชพืช “กลัวผิด” เติบโตปกคลุมอยู่ทั่วไปในองค์กรนั้น

เราก็เข้าใจได้ และเข้าใจดี

เราก็อยู่ในวิถีที่ห้ามทำผิด กันมายาวนาน

จะให้เปลี่ยนปุ๊บปั๊บฉับพลัน ก็ไม่ใช่ง่าย

ทุกคนก็ล้วนแต่ต้องพยายามก้าวข้ามเรื่องนี้ด้วยกันทั้งนั้น

 

ถามว่าทำได้ไหม

 

ทำได้ แต่มันต้องออกแรงพรวนดิน และใส่ปุ๋ย

ต้องใช้ความพยายาม และใส่ส่วนผสมพิเศษลงไปบ้าง

ไอเดียในการ บ่มเพาะต้นกล้าแห่ง “Agile” ด้วยปุ๋ยที่จะช่วยให้รากหยั่งลง มั่นคง นำน้ำ อาหารขึ้นลำต้น และพรวนดิน ให้ทุกอย่าง เข้าสู่ต้นได้เต็มกำลัง

ขอเสนอปุ๋ย และวิธีการพรวนดิน ให้เลือก 2 สูตรด้วยกัน ใช้ร่วมกัน หรือใช้แยกได้ ขึ้นกับสถานการณ์และความสะดวกใจของเราเลย

ซึ่งเป็นสูตรที่มาจากองค์กรแห่งนวัตกรรมระดับโลก และจากเมล็ดพันธ์ชั้นดี ที่ได้รับการบ่มเพาะอย่างดี ที่แชร์สูตรปุ๋ยร่วมกันในคลาส leading agile execution ใน yournextu virtual class

2 สูตรลับที่ว่า คือ

 

  1. Oops meeting

จัดการประชุม ที่ให้ทีมงานได้แบ่งปัน “ความผิดพลาด” และมองมันเป็นการเรียนรู้ และชื่นชมที่ได้มีการกล้าลองทำอะไรใหม่ๆ และจัดประชุมนี้ ให้เป็นวินัย เป็นประจำ เป็นนิสัยใหม่ อาจประจำสัปดาห์ หรือทุกสองสัปดาห์ จะช่วยส่งเสริมและสร้างความแข็งแรงให้กับต้นกล้า Agile ในองค์กร

 

เน้นอีกครั้ง “จัดประชุม ให้เป็นประจำ เป็นวินัย เป็นนิสัย” ชื่นชมในพฤติกรรมที่จะเอื้อต่อการเรียนรู้ ทดลองอะไรใหม่ และปรับแก้  รวมทั้ง อย่าลืมกล่าวชื่นชมกับ Value นี้ของคนในองค์กร

ไอเดียนี้ มีที่มาจากการประชุม “อุ๊ปส์ Oops” โดย  Sara Blakeley (นักธุรกิจระดับหมื่นล้าน ผู้หญิงที่สร้างตัวเพียงตัวคนเดียว จากพนักงานขายแฟกซ์ สู่เจ้าของธุรกิจนวัตกรรมชุดกระชับสัดส่วน Spanx ) จัดทำในองค์กร วัตถุประสงค์ของการประชุม คือ แชร์เรื่องที่ทำพลาดโดยเฉพาะ และชื่นชมกัน

ซึ่งทำให้มีความ Dynamic และเป็นองค์กรแห่งนวัตกรรม

 

2. Retrospective with leader first

ในรูปแบบการทำงานแบบ Agile จะมีลักษณะของการแบ่งปัน ความผิดพลาด การเรียนรู้ เพื่อเป็นบทเรียนให้คนอื่นในทีม หรือแชร์นอกทีม
ขณะที่มีบางคน ไม่กลัวที่จะแชร์ เพราะรู้ว่ามันเป็นการเรียนรู้

โดยแนวทางในการแบ่งปัน เราอาจเรียกเทคนิคนี้ว่า Retrospective (บันทึกย้อนหลัง สิ่งที่ได้เรียนรู้ ) เพื่อแปลงความผิดพลาด เป็นขุมสมบัติความรู้ในองค์กร ก็คือ

การบันทึกแบ่งเป็น 4 หมวด คือ

ก. สิ่งที่ทำได้ดี

ข. สิ่งที่ยังทำได้ไม่ดี

ค. สิ่งที่ได้เรียนรู้

ง. วิธีปรับปรุงแก้ไขให้ดีขึ้น

แล้วการประชุมครั้งต่อไป ก็ให้อัพเดทว่า วิธีที่แก้ไขปรับปรุงใหม่ เราปรับแก้ไปแล้วผลเป็นอย่างไร มีอะไรที่ทำได้ดี, ไม่ดี, เรียนรู้ และปรับปรุงใหม่อีกบ้าง

หมุนวนอย่างนี้ไป

เริ่มง่ายๆ ด้วยในประชุมที่มีอยู่แล้วเดิมก็ได้ โดย เริ่มต้นจาก เจ้านาย คนที่ใหญ่ที่สุดในห้องประชุม ถ้าอยากให้คนในองค์กร กล้าคิด กล้าทำ กล้าลองอะไรใหม่ๆ ก่อนจะได้การแบ่งปันความผิดพลาดของทีม  …. เขาควรเป็นคนแรกที่ใส่ปุ๋ยพรวนดินก่อนเลย

(ขอบคุณพี่ต้อย จาก Bangkok Insurance ที่ร่วมแบ่งปันในคลาส Leading Agile Execution คะ)

นั่นก็คือ ให้เจ้านาย คนใหญ่ที่สุดในห้องประชุม แชร์เรื่องที่ตัวเองเคยทำผิดพลาดขึ้นมาก่อน เป็น ต้นแบบ ให้คนในที่ประชุมได้รู้ว่า มันไม่เป็นไรเลย และมันเป็นโอกาสที่ได้เรียนรู้ และยังเป็นสัญลักษณ์ของการที่เราพยายามออกนอก comfort zone เพื่อทดลองอะไรใหม่ๆ ด้วย รวมทั้งแชร์ 4 ประเด็นที่เป็นบทสรุปที่แจกแจงไว้แล้วข้างต้นด้วย


เมื่อหัวหน้ากล้าหาญ ลูกน้องจะได้กล้าหาญตามไป

เมื่อหัวส่าย หางจะเป็นอะไรไปได้อีก

 

 

แล้วความผิดพลาดที่เกิดขึ้นมา (จากการทดลองอะไรใหม่ๆ ไม่ใช่จากการทำพลาดซ้ำรอยเก่าครั้งแล้วครั้งเล่านะ) จะได้รับการเฉลิมฉลอง, ได้รับการยอมรับ และได้รับคำชื่นชม

เพราะ

คุณได้กล้าลองทำอะไรใหม่ และได้เรียนรู้อะไรบางอย่าง จากเดิม

และเป็นการเข้าใกล้สิ่งที่ใช่ มากขึ้นทุกที 

 

ถ้าทำอย่างนี้ พรวนดิน ใส่ปุ๋ย รดน้ำอย่างสม่ำเสมอแล้วต้น Agile จะไม่เติบโตอย่างไรได้

 

คิดว่ายังไงคะ กับการดูแลรักษาต้นกล้า Agile 

จะเริ่มใส่ปุ๋ย พรวนดิน รดน้ำ ตอนไหนดีคะ

 

เสิร์ฟด้วยใจ และรดน้ำพรวนดินใส่ปุ๋ยไปด้วยกัน

#pintooh

สนใจร่วมคลาสเกี่ยวกับ Agile สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ LINE: @yournextu

Pix: mthai, de.toluna, medium, neatro

Please follow and like us:
0

About pintooh

งานประจำ คือ เรียนรู้ และแบ่งปัน
> งานพิเศษ คือ ท้าทายตัวเอง
> งานอดิเรก ผูกพันกับดนตรี เกาหลี และแรงบันดาลใจทั้งปวงในโลกหล้า
::: Now I am practicing Storytelling + Vipassana + Life designing + Innovating :::

Check Also

บันทึกความทรงจำ เกี่ยวกับใครคนนั้น ที่เคยรักเมื่อ 20 ปีก่อน จนกระทั่ง..

  ในช่วงสุ …

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *