หนึ่งวันเต็ม กับการได้ฟังมุมมองการเปลี่ยนแปลงเข้าสู่โลกดิจิทัล และการปรับตัวสู่อนาคต ในงาน AIS Academy for thais ที่จัดขึ้น ณ Impact Forum เมืองทองธานี โปรแกรมนี้ไม่มีค่าใช้จ่าย มีสปอนเซอร์ที่ร่วมด้วยช่วยกันจัด ด้วยความเชื่อมั่นว่าจะเป็นอีกแรงขับเคลื่อนเพื่อพาสังคมไทยก้าวทันโลกอนาคตไปอีกขึ้น
โปรแกรมช่วงเช้า ผู้เข้าร่วมงานอยู่รวมกันในห้องประชุมใหญ่ห้องเดียว คนเยอะมาก น่าจะเกินพันคน ล้นไปถึงห้องถ่ายทอดสดไลฟ์
โปรแกรมช่วงบ่าย มีให้เลือก 4 หมวด ผู้เขียนสนใจเรื่อง Innovation Business Model จึงเลือกฟังห้อง A ซึ่งเป็นห้องใหญ่เหมือนเดิม
เก็บตกช่วงเช้า
มีผู้บริหารจาก AIS (คุณกานติมา), SEAC (คุณขวัญ อริญญา : ผู้ดำเนินรายการ) , เมืองไทยประกันชีวิต (คุณสาระ), ธนาคารกสิกรไทย (คุณขัตติยา), ไมเนอร์ กรุ๊ป (คุณจี๊ด ปัทมาวลัย) แบ่งปันถึงมุมมองที่มีต่อนวัตกรรม การปรับตัวขององค์กรและของประเทศไทย อย่างเจาะลึก
คุณสาระ (กรรมการผู้จัดการ บ. เมืองไทยประกันชีวิต) กล่าวว่า “ไม่คิดว่ามันเร็วขนาดนี้” กับการเปลี่ยนแปลงของผู้บริโภค และการเปลี่ยนแปลงของโลก
“ตอนนี้ไม่รู้ว่าแข่งกับใคร คู่แข่งของเราหน้าตาแปลกใหม่ ไม่ใช่เพียงแค่หน้าเดิมเท่านั้น”
“มองความท้าทายเป็นโอกาส และเป็นอนาคต ซึ่งจะนำมาซึ่ง Business model ใหม่ๆ”
“ทักษะ skill ล้าสมัยง่ายมาก ทำอย่างไรให้คนไทยชอบเรียนรู้ ไม่ต้องรอป้อนข้อมูล”
คุณกานติมา (ผู้บริหารจาก AIS) แบ่งปันว่า
-
“ต้องหาวิธีผสมผสานชีวิตลูกค้า ตั้งแต่เริ่มตื่น จนนอน จะให้สินค้าและบริการของเราอยู่ในทุกขั้นตอนของชีวิตลูกค้าได้อย่างไร”
-
การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นนี้ ไม่ใช่แค่เปลี่ยน แต่เป็นการ transform (เปลี่ยนเผ่าพันธุ์) ซึ่งจะต่อเนื่อง (on going) และรวดเร็ว (speed)
-
ถ้าวันนี้ไม่เตรียมพร้อม จะไม่ทัน อย่างไรก็อย่าวิตกจริต ให้กลัวแบบเตรียมตัว แต่ละบริษัท บริบทไม่เหมือนกัน จะมีการเตรียมตัวที่ต่างกัน
-
การเตรียมตัวของ AIS จะมีการเพิ่ม (1) ทักษะ (skill set) (2) เข้าใจพฤติกรรมลูกค้า
-
ตลาด Niche market จะมีเพิ่มอีกมากมาย
คุณปัทมาวลัย (ผู้บริหารจาก บ. Minor) กล่าวว่า การเปลี่ยนแปลงนี้เกี่ยวข้องกับทุกคนไม่เว้นใคร
-
เราต้องมองหาวิธีเชื่อมโยงสิ่งที่ไม่เคยเชื่อมโยงกันมาก่อนให้สามารถเชื่อมกันได้
-
ต้องมองว่าจะสามารถก้าวออกไปเข้าใจลูกค้าให้มากขึ้นได้อย่างไร
-
สินค้าเปลี่ยน สนามแข่งขันเปลี่ยน ถ้าเรามองคนเหมือนเดิม จะเป็น comfort zone อีกไม่นาน เราก็มีโอกาสหายไป
-
อย่างไรก็ดี นวัตกรรม ไม่ใช่เพียงมองแค่เทคโนโลยี แต่สามารถเป็น Business model ที่เป็นนวัตกรรมได้
-
สิ่งที่ควรระวังคือ ไอเดียเยอะ อยากทำทุกสิ่ง แต่ execution ไม่ออกมาเลย พูดอย่างเดียวไม่ได้
-
สิ่งที่ท้าทายที่สุดคือ คน และ legacy ในอดีต
-
ต้องให้ “มือแตะดิน” ลงมือทำด้วยกัน
-
ตอนนี้ Competency leadership เปลี่ยนใหม่หมด จะ high tech อย่าลืม high touch ด้วย ไม่งั้นอาจเจอกรณี ลงทุนทำอุปกรณ์ ซอฟท์แวร์อะไรมากมาย สุดท้าย มีคนใช้แค่ 3 คน
-
การเชื่อมโยงเทคโนโลยีควรจะให้เป็น “คน” ที่เชื่อมโยงสู่ลูกค้า
-
คำถามที่สำคัญคือ “จะเรียนรู้และปรับตัวอย่างรวดเร็ว” ได้อย่างไร
คุณขวัญ อริญญา (ผู้บริหารจาก SEAC) กล่าวสะกิดความคิดว่า “เราจะคิดทางออก “ทางเดิม” ไม่ได้ และ “ทางเดียว” ไม่ได้”
คุณขัตติยา (กสิกรไทย) ให้ข้อคิดที่น่าสนใจ เมื่อเปรียบเทียบจนเห็นภาพว่า หากเปรียบเทียบกสิกรไทยกับสตาร์ทอัพที่จีน ก็เล็กกว่าเขาหลายเท่า ยิ่งถ้าเทียบกับอาลีบาบา กสิกรเล็กกว่าถึง 800 เท่า
ดังนั้น เราไม่ควรทำงานคนเดียว เขาจามทีเดียวก็ปลิวแล้ว แต่ต้องร่วมมือกัน ข้าม industry และขอให้รู้ว่าทุกคนสามารถเป็นแรงขับเคลื่อนด้วยกันได้
………………
ติดตามอ่านตอน 2 ได้ที่
9
Please follow and like us: