ติดตามตอนที่ 1 ได้ที่ http://pintooh.com/?p=1772
ถัดจากช่วงเสวนา ประเดิมด้วยช่วงแบ่งปันจาก อาจารย์มหาวิทยาลัยสแตนฟอร์ด ชื่อ Mr. Hau L. Lee
ใครจะไปคิดว่า อาจารย์ Hae เห็นตัวเล็กๆ แค่นี้ จะทุ่มพลังสุดตัวในการบรรยายแบบเกินคาด
รู้สึกราวกับแกเล่าด้วยกำลังภายใน สอนไป โชว์กระบวนท่าวิทยายุทธ์ไป คุณหนุ่ย พิธีกรถึงกับแซวว่า นึกว่าไม่ได้มาฟังสัมมนา นึกว่ามาดูหนังแอ็คชั่น!
อาจารย์เน้นย้ำมากเรื่องการให้ความสำคัญกับ Data
จะวิเคราะห์อะไร จะทำอะไร อย่าเดาเกินไป จงใช้ Data
อาจารย์เล่าถึงการจัดอันดับแข่งขันกันระหว่างมนุษย์กับหุ่นยนต์ ประมาณเป็นการแข่งหมากล้อม เมื่ออันดับ 1-10 แม้กระทั่งอันดับที่ 11 มนุษย์ก็ยังสู้ Ai ไม่ได้ ทว่า…หากมนุษย์ร่วมมือกัน และใช้การวิเคราะห์ข้อมูล สามารถเอาชนะหุ่นยนต์ที่เคยทำอันดับ 1 ได้
นอกจากนั้น ก็มีเรื่องราวที่น่าสนใจ จาก 7-11 ญี่ปุ่น เกี่ยวกับวิธีการใช้ข้อมูล
เรื่องมีอยู่ว่า ถุงน่องที่เซเว่นญี่ปุ่น ขายดีมากๆ พอเอาข้อมูลมาดู ก็พบว่า มีความแปลกประหลาดอยู่คือ ช่วงตีสองตีสาม ลูกค้าที่มาซื้อถุงน่อง เป็นผู้ชาย….?!?
นี่คือ Consumer อาจเป็นคนละคนกับ Customer
คนดูข้อมูลก็สงสัยว่า ซื้อไปทำอะไร???
แต่ก่อนที่จะจินตนาการไปไกล ก็พบว่า เป็นช่วงเวลาที่ภรรยาฝากสามีซื้อมาหลังจากกลับมาบ้าน (ทำงานดึกเนอะ)
สิ่งที่พบนี้ ทำให้เซเว่นมองเห็นโอกาสธุรกิจ
เมื่อพบว่าผู้ซื้อเป็นผู้ชาย จึงจัดวางเบียร์ไว้ใกล้ถุงน่อง
ปรากฎ ยอดถุงน่องขายดี ยอดขายเบียร์ก็สูงขึ้นไปด้วย
นี่คือโอกาสที่ได้รับจากการใช้ข้อมูลเพื่อความได้เปรียบทางการแข่งขัน
(และเป็นเหตุผลว่าทำไม Data scientist ถึงได้เป็นที่ต้องการและขาดแคลนมากในยุคนี้)
.
อีกประเด็นที่องค์กรยุคใหม่ต้องไหวตัวให้ทัน คือ Sense & response
เรื่องมีอยู่ว่า มีองค์กรธุรกิจหนึ่ง พอทราบว่าเมืองไทยน้ำท่วม ก็รีบเช็คข้อมูล พบว่า Supplier ของตนไม่ได้อยู่ไทย จึงสบายๆ ไม่กังวง แต่ปรากฎว่ายอดขายธุรกิจตนร่วงเฉยเลย แม้ไม่ได้รับผลโดยตรง แต่กลับได้รับผลกระทบทางอ้อมในที่สุด เมื่อลูกค้าของเขา กลับผลิตเพิ่มไม่ได้ เพราะลูกค้าดันมี supplier ในไทยอีกทอดหนึ่ง สุดท้าย ก็กระทบอยู่ดี ดังนั้น ต้องไหวตัวให้ทันท่วงที อย่ามองแค่ชั้นเดียวว่า ไม่ใช่ supplier เบื้องต้น ไม่กระทบตรงๆ แล้วสุดท้ายจะไม่ได้รับผลกระทบ มันไม่แน่
.
เทคโนโลยียุคนี้ เปิดโอกาสให้คนที่ทรานฟอร์ม ไม่ใช่เฉพาะ Alibabas แต่ คุณกับเราก็ทำได้
เทคโนโลยีเครื่องพิมพ์ 3D สามารถทำให้เราผลิตหลายสิ่งหลายอย่างได้ เพียงชิ้นเดียว ในระยะเวลาอันสั้น อย่างที่สมัยก่อนอาจไม่สามารถทำได้
ใน E-commerce เราสามารถใส่ภาพสินค้าแปลกประหลาดเจาะกลุ่ม Niche เช่น สามารถวางขายแก้วน้ำลายโถส้วมได้ โดยไม่จำเป็นต้องผลิตเยอะ ผลิตเท่าที่มีคนสั่งซื้อ
พอมีคนสั่งซื้อ ก็ค่อยสั่งให้ผลิตสร้างชิ้นงานขึ้นมา ในจำนวนไม่มากได้ ไม่ต้องรอล็อตใหญ่
แม้ว่า 3D printing จะทำการค้าไม่ง่ายในช่วงที่ออกมาตอนแรก ราคาสูง และไม่ค่อยมีลูกค้า อาการร่อแร่
แต่พอเปลี่ยน business model มาเป็น B2B ปรากฎว่าไปได้ดีมาก เช่นตัวอย่าง ที่ไปเป็นคู่ค้ากับแบรนด์ดังๆ มากมาย
ช่วงบ่ายอาจารย์ Hae กำลังภายในไม่มีตก
นี่ฟังสัมมนานวัตกรรมหรือโน๊ตอุดมแต้ ฮาแตกแทบตกเก้าอี้
ที่จำได้มากคือ ตัวอย่าง business model ที่เน้นจับ Niche market เช่น เซินเจิ้นจับตลาดที่แตกต่าง Fast & cheap แบรนด์ใหญ่ไม่ทำ
มือถือที่แตกต่าง…ตรวจแบงค์ปลอมได้ด้วย
กล้าคิดต่าง มือถือใดเล่า มีซิมมากเท่านี้ 4 ซิม (จำเป็นต้องมีซิมมากขนาดนี้จริงรึ)
มือถือสำหรับนักสูบ เป็นโทรศัพท์ก็ได้ เก็บบุหรี่ก็ได้ (เอ่อ)
ทันทีที่แคมเปญของโอบาม่า (Yes we can สมัยนั้น) ออกมา…มือถือรุ่นนั้นก็ออกมาทันทีไม่เกิน 1 เดือน กับโทรศัพท์รุ่น “Yes we can”
โอบาม่าจะรู้ไหม ว่าเป็นพรีเซนเตอร์ให้ BlockBerry ที่จีนไปเสียแล้ว
เป็นตัวอย่างของการไม่กลัว ที่แท้ทรู
ไม่กลัวล้มเหลว ล้มได้ถูก (Fail fast, fail cheap) และกล้าแตกต่าง
แถมยัง ไม่กลัวถูกฟ้องละเมิดลิขสิทธิ์ ละเมิดสิทธิ์ใดใดทั้งสิ้นในโลกหล้า
………
ผู้พูดคนถัดไป เป็นตำแหน่ง Futurist นักอนาคต ?!?
Mr. Rudy De Waele Futurist, Innovation Strategist
มันคือตำแหน่งอันใด
คุณ Futurist ท่านนี้ ไม่ใช่นั่งทางใน ดูลูกแก้วทำนายอนาคต แต่เป็นจากการศึกษางานวิจัย ทำสถิติ ถึงข้อมูลในอดีต ที่พอจะคาดการณ์ถึึงอนาคต
ประโยคเด็ดที่น่าสนใจจากท่านนี้คือ
-
บุคลิกลักษณะแห่งอนาคตคือ “ความยืดหยุ่นได้” Characteristic for future “flexible” & Adapt for change. พร้อมจะปรับเปลี่ยนเสมอ
-
การเรียนรู้ในโลกอนาคตนัั้น การรู้ทุกอย่างไม่ได้มีความหมายอีกต่อไป แต่เราจะต้อง “เรียนรู้ที่จะคิดอย่างสร้างสรรค์อย่างไร” ต่างหาก และจงเรียนรู้จากการลงมือทำ ไม่ต้องกลัวล้ม เด็กๆ ล้ม 20 รอบก็ยังลุก ผู้ใหญ่เหตุใดล้ม 2-3 ครั้งก็เลิกแล้ว ทั้งที่มันเป็น “ความก้าวหน้า” ที่จะเรียนรู้ว่าทำอย่างไรจึงจะทำได้ดีขึ้น
-
อีกการเรียนรู้ที่สำคัญคือ “เรียนรู้เข้าไปในตัวพวกเราเอง”
-
และโลกจะไปไกลกว่าการใช้ Design Thinking ให้มองว่าไปถึง Ethic Design ซึ่งเป็น Systemic Design (ไม่ใช่ Systematic design นะ) เป็นการให้ความสำคัญกับจริยธรรม
:::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::::
บทสรุป 3 สิ่งที่ผู้เขียนหยิบใส่ปิ่นโตสามชั้น ที่ได้ชัดๆ สำหรับวันนี้
1)สิ่งที่ได้ยินมากที่สุดของวัน คือ เรื่องความสำคัญของข้อมูล (Data)
และการมุ่งความสนใจไปที่ลูกค้า (customer centric) จงออกไปทำความเข้าใจและรู้จักลูกค้าอย่างแท้จริง
มีการพูดถึงเรื่องนี้ทุกช่วง เป็นคีย์เวิร์ดที่ต้องใส่ดอกจันแล้วทำตัว Bold ขีดเส้นใต้หนาๆ ประมาณนั้นเลย
2) สิ่งน่าทึ่งที่ได้ยินวันนี้คือ กลยุทธ์ที่มนุษย์จะเอาชนะหุ่นยนต์ AI ในสนามที่เคยแพ้ คือ “Collaboration” การร่วมมือกัน และ! การใช้ข้อมูล (Data) อีกแล้วครับท่าน
3) สิ่งที่ได้ยินบ่อยๆ และยังคงได้ยินอีกในวันนี้ชัดๆ คือ บุคลิกลักษณะสำหรับอนาคต = ยืดหยุ่นต่อการเปลี่ยนแปลง ( Characteristic for the future -> “flexible for change”)
อ่านมาถึงตรงนี้แล้ว คิดว่าเราต้องปรับเปลี่ยนอะไร เพื่ออนาคตของเราและประเทศไทยของเราบ้างคะ
ผู้เขียนต้องเปลี่ยนเพรียบเลยคะ!
Happily serve you with love,
Pintooh
ถ้ายังไม่ได้อ่านตอนที่หนึ่ง คลิกติดตามตอนที่ 1 ได้ที่ http://pintooh.com/?p=1772
สนใจเพิ่มเติม อ่านบทความเกี่ยวข้องกับงานอีเวนท์นี้ได้ที่เว็บแบไต๋ค่ะ
https://www.beartai.com/article/tech-article/281765#.W7YwGQQnJ-g.facebook
Please follow and like us: