Breaking News
Home / Innovating /  7 สิ่งที่ได้เรียนรู้จากงาน HR tech 2018

 7 สิ่งที่ได้เรียนรู้จากงาน HR tech 2018

 

 

มื่อวันที่ 30 มี.ค. 2561 Pintooh ได้มีโอกาสเข้าชมงาน HR tech ที่สยามพารากอน จัดโดย PMAT
(สมาคมการจัดการงานบุคคลแห่งประเทศไทย) ขอบคุณ SEAC ที่แนะนำให้ได้เข้าร่วมงานนี้คะ
งานนี้ค่อนข้างยิ่งใหญ่ เวทีแบ่งปันมีมากมายถึง 5 เวที แยกร่างไปฟังไม่ถูกเลยทีเดียว

งานนี้ทำให้ได้เรียนรู้สิ่งใหม่ที่เป็นเทรนด์ยุค digital หลายประการ แต่ที่น่าสนใจ มี 7 สิ่ง ขอนำมาแบ่งปันกัน ณ จุดนี้
  1. การขับเคลื่อนการเรียนรู้แนวใหม่ สำหรับพนักงานในองค์กร
  2. พนักงานชาว Millennial
  3. ตำแหน่งงานที่หายากส์ที่สุดในขณะนี้
  4. วิถีการสร้างผู้นำยุคใหม่ของบริษัทเกมส์ชั้นนำ
  5. ฮาวทูโน้มน้าว CEO
  6. กลยุทธ์การพัฒนาศักยภาพด้วยงานอดิเรก
  7. ทำไม Start up ต้องการเปลี่ยนโลก

 

 

1.การเรียนรู้แนวใหม่ สำหรับพนักงานในองค์กร

คุณอริญญา เถลิงศรี กรรมการผู้จัดการบริษัท SEAC (เดิมคือบริษัท APM group) ได้บอกเล่าในหัวข้อเกี่ยวกับ New organization learning ecosystem และ Personalized development approach โดยแบ่งปันท่าทีที่จำเป็นสำหรับ HR ยุคใหม่ ในการจัดการพัฒนาบุคลากรในองค์กร ซึ่งศัพท์ที่เป็นพระเอก จากเรื่องราวการแบ่งปันครั้งนี้คือ Micro learning / Macro learning
นอกเหนือจากที่ HR ต้องวิเคราะห์หลักสูตรให้เป็น วางแผนการพัฒนาคนอย่างไรให้เหมาะกับองค์กร รูปแบบหน้าตาการเรียนรู้ขององค์กร คือ (1) Personalize learning ต้องส่งเสริมการเรียนรู้ตามที่ตนสนใจ ทำไมจึงเป็นเช่นนั้น เพราะยุคนี้ “ความรวดเร็ว (speed)” เป็นเรื่องสำคัญ ต้องการรู้เดี๋ยวนี้ แต่กว่าจะรอ HR จัดคอร์สอบรม แก้ไม่ทัน เสียโอกาสทางธุรกิจไปทันที ดังนั้น นอกจากคลาสฝึกอบรมตามกำหนด (Macro learning การเรียนรู้จัดคลาสใหญ่) จะมีอยู่ แต่การเรียนรู้แบบทันท่วงที ที่เราเรียกว่า (Micro learning) อาจเป็นการเรียนรู้ผ่าน online เป็นคลาสออนไลน์ หรือกระทั่ง ทักษะในการค้นหาคำตอบให้ได้เร็วที่สุดจากอินเทอร์เน็ต
แนวคิดการพัฒนาบุคคลากรเช่นนี้ ได้นำมาใช้แล้ว โดยเฉพาะบริษัทข้ามชาติ เช่น Dtac ที่บังเอิญมาแชร์ในงานช่วงเย็นๆ ที่เวทีเดียวกัน ถึงแพล็ตฟอร์ม “เพลิน” ที่ให้ชาว Dtac ได้เข้าไปดีไซน์การพัฒนาตนเอง โดยเรียนออนไลน์ให้ได้อย่างน้อย 40 ชั่วโมงในแคมเปญ 40 hours challenge in 2018 ซึ่งมีเนื้อหาหลากหลาย จากเว็บไซต์เรียนออนไลน์ชั้นนำของโลก เช่น coursera หรือของไทย เช่น skilllane

2.พนักงานชาว Millennial

อีกหนึ่งเทรนด์การจ้างงาน ที่เป็นที่สนใจ ไม่เฉพาะชาว HR แต่ทุกคนที่เกี่ยวข้องกับคนทำงานยุค Millennial นี้ เช่น หัวหน้างาน ก็หนาวๆ ร้อนๆ ไปไม่ถูกเวลาเจอทีมงานชนชาตินี้
เรื่องนี้แบ่งปันจาก LINE HR Leader

กล่าวถึงการปิดช่องว่างระหว่างชาว Millennial กับชาวอื่นๆ โดยอ้างถึงกรณีศึกษาจาก LINE : ไลน์เข้าใจว่าเด็กยุคนี้ชอบตั้งคำถาม มีการบาลานซ์ work & play จะไม่มีการอุ้มน้องที่ไม่มีผลงาน และทำให้ทุกคนอินกับบริษัท สร้างให้เกิด Ownership ไม่ใช่เฉพาะงานที่รับผิดชอบ แต่ให้คิดถึงไลน์ในภาพรวม แม้แต่น้องฝึกงานยังอิน
HR ของไลน์มีความน่ารัก มีกิมมิคในการสื่อสาร เขาจะไม่บอกว่าเขาเป็น HR แต่จะสื่อสารโดยใช้ hashtag ว่า #becauseweloveyou
อีกอย่าง กลยุทธ์ในการโปรโมทบริษัทนี้ เขาใช้ทรัพยากรที่เป็นออฟฟิศ สร้างให้เร้าใจ มีเสน่ห์ มีจุดจดจำ เป็นตัวดึงดูดความน่าสนใจในตัวบริษัท

 

3.ตำแหน่งงานที่หายากส์ที่สุดในขณะนี้

ทายสิคะ ว่าตำแหน่งงานอะไร ที่ได้รับการพูดถึงอย่างมาก ว่าหายากส์ หาเย็นนัก… แล้วก็กำลังเป็นที่ต้องการอย่างมากในตลาด..
คำตอบก็คือ Data Scientist นั่นเอง
หายากในระดับที่คุณ Sittapong ผู้บริหารจาก G-able บอกว่า “หายากยิ่งกว่างมเพชรในมหาสมุทร” (เข็มยังหาง่ายกว่า)

 

ว่าแต่ว่า นักวิทยาศาตร์ด้านข้อมูล (Data Scientists) คือใคร เขามีลักษณะการทำงานที่รับผิดชอบอย่างไร ทำไมถึงมีแต่คนไล่ตามตัวอยากได้เขากันมากมายนักหนา
เหตุผลก็คือ (1) คนไทยเรียนด้านนี้ยังไม่มาก (2) Ai กำลังมาแรง (ซึ่งก็คือการใช้ Big Data และต้องการ Data scientist)
และอาชีพนี้ ต้องการผู้ที่มีคุณสมบัติหลัก 3 อย่างคือ 1. คุยกับคนรู้เรื่อง 2. ชอบเขียนโปรแกรม 3. เก่งสถิติ
คนส่วนใหญ่มี 2 ใน 3 เช่น ซึ่งก็อาจเรียกเป็นตำแหน่งผู้ช่วยของ Data Scientist เช่น
ตำแหน่ง Data engineer ชอบเขียนโปรแกรม เก่งสถิติ แต่ชอบคุยกับคอม มากกว่าคุยกับคน
ส่วนตำแหน่ง Data Analysis เป็นตำแหน่งของคนที่พรีเซนต์เก่ง คุยกับคนได้ แต่เขียนโค้ดไม่เป็น สถิติไม่รู้เรื่อง เธอจะรู้ธุรกิจ มีไอเดีย
ดังนั้น ถ้ายังหา Data scientist ไม่ได้ ก็สามารถใช้ผู้ช่วยของเขาคือ data engineer & data analysis ไปกล้อมแกล้มพลางๆ ควบคู่กัน จะได้เสริมหยินหยางกัน

 

 

 

 

 

4.วิถีการสร้างผู้นำยุคใหม่ของบริษัทเกมส์ชั้นนำ

Pintooh เป็นคนนอกวงการเกมส์ แต่ได้เปิดหูเปิดตามากมาย กับการแบ่งปันของคุณ Rattawut (People management  บริษัท SEA (Thailand)) ตรงโซนเวที Start up ภายในงาน HR Tech
เพิ่งเห็นกับตา (จากภาพบนสไลด์) ถึงคลื่นมหาชน ที่มุ่งเข้าร่วมงาน Garena world 2017 และที่จะจัด Gerena 2018 ขอเรียกเป็น มหกรรมการแข่งเกมส์ คนร่วมงานล้นหลาม นั่งรอคิวกันเป็นทะเลคลื่นฝูงชนล่วงหน้าก่อนงานเปิดหลายชั่วโมง เพิ่งรู้ว่านอกจากคอนเสิร์ตวงดังจากเกาหลีแล้ว ก็มีฝั่งของเกมส์ ที่เป็น entertainment โลกใหม่ ที่ฮิตระดับมหาชนปานนี้
บริษัทที่กุมอำนาจความบ้าคลั่งเกมส์ของเยาวชนไทยบริษัทนี้ ได้มีโปรแกรมการพัฒนาบุคคลากรในองค์กรที่มาเล่าแบ่งปัน น่าสนใจอยู่ 2 อย่าง
  • โปรแกรมพัฒนาผู้นำรุ่นเยาว์ ( สมัย Pintooh เรียก management trainee ) เป็นการเลือกหัวกะทิ ที่ไม่มีประสบการณ์ มาอบรมบ่มเพาะ ปั้นผู้นำรุุ่นใหม่ โดยดูจากเกรดสูงล้ำ หรือกิจกรรมโดดเด่น จาก 600 คนเลือก 10 คน จากนั้น สัมภาษณ์ 3 รอบ แบบเบาะๆ ข้อเขียน logic/ eng/ gamification/ escape game อันหลังนี่จะเป็นปริศนา ให้ตอบโจทย์บางอย่าง ซึ่งจะเผยตัวตนที่แท้จริงออกมาจนหมดสิ้น จากนั้น สัมภาษณ์กับ CEO บ่มเพาะอยู่ 2 ปี
  • Just challenge it (ชื่ออันนี้ Pintooh ตั้งให้เอง ไม่รู้เขาเรียกว่าแคมเปญ หรือกลยุทธ์อะไร) ทีมงานรุ่นใหม่ชาว millennial ชอบใช่ไหม ความท้าทาย รับไปเลย ฟรี! ที่นี่จะให้งานที่เหนือกว่าหน้าที่ ให้ Challenge ไป แล้วดูว่า skill ได้ไหม attitude ดีไหม ถ้าทำได้ผ่าน ก็จะได้ reward ไป คล้ายๆ โยนลงสระ ไม่รู้หรอกว่า ว่ายน้ำเป็นไหม แล้วดูว่าตะเกียกตะกายยังไง ถ้าตะกายไหวไปรอด ก็ได้รางวัล เอ้า โดดไหมจ้ะ?

 

 

 

5.ฮาวทูโน้มน้าว CEO

ต่อเนื่องจากบริษัทข้างต้น เผอิญมีผู้ชมชาว Millennial ยกมือถามอย่างองอาจ ว่า ทำยังไง จึงจะทำให้ CEO หัวเก่า ได้มี vision หรือวิสัยทัศน์เหมือนอย่างที่เรา คนรุ่นใหม่ มีได้….
คำตอบจาก HR ของ Garena ก็เข้าที เขาบอกว่า เราต้องรู้ว่า CEO ต้องการอะไร และมองหาอะไร เราต้องรู้ว่า business case คืออะไร (feasibility plan หรือวิถีในการทำธุรกิจที่จะได้กำไรและสำเร็จ) CEO ไม่ได้มอง people case แต่มอง business case วิธีโน้มน้าว CEO ประโยคแรก ให้บอกว่า ตอนนี้ธุรกิจเรา มีโอกาสเจอ “ความท้าทาย” อะไรในอนาคต เป็นข้อบอกไปเลย 1, 2, 3, ถ้าเรามี……(โน้มน้าวอะไรก็ว่าไป) ดี แล้วเล่าว่า เห็นอะไร สิ่งที่จะทำ สำคัญกับธุรกิจอย่างไร …CEO ก็จะมีโอกาสเงี่ยหูฟังเรา

6.กลยุทธ์การพัฒนาศักยภาพด้วยงานอดิเรก

ทำแบบนี้ก็ได้ด้วย!
ตื่นเต้นกับเรื่องนี้ที่ได้ยินจาก jobtopgun มาก และประสบการณ์ที่ผ่านมากับตัวเอง ก็เชื่อในวิถีทางนี้
นั่นคือ แนวทางการทายนิสัยจากงานอดิเรก หรือกระทั่ง เลือกทำงานอดิเรกใหม่ เพื่อพัฒนาคุณสมบัติที่ดีบางอย่างในตัวเราเพิ่มเติม
Jobtopgun ได้ทำงานวิจัยร่วมกับมหาวิทยาลัยมหิดล เก็บข้อมูลที่มีนัยสำคัญทางสถิติ พบคุณลักษณะโดดเด่นบางอย่าง สำหรับคนที่มีงานอดิเรกต่างๆ เช่น คนเล่นเปียโน จะเป็นคนเยือกเย็นสุขุม คนชอบว่ายน้ำ จะเป็นคนมีความอดทน ทำงานจนสำเร็จได้ดี ฯลฯ ดังนั้น หากคุณต้องการพัฒนาทักษะใดเพิ่มเติม ก็ให้ลองเปลี่ยนมาทำงานอดิเรกที่ช่วยสร้างเสริมคุณลักษณะนั้นให้กับคุณได้ อันนี้น่าสนใจทีเดียว
มีหลายงานอดิเรก และคุณสมบัติที่จะบ่มเพาะจากงานอดิเรกนั้นๆ ก็มีหลากหลายประการ ลองคลิกไปดูคะ
https://www.jobtopgun.com/%E0%B8%8A%E0%B8%B5%E0%B8%A7%E0%B8%B4%E0%B8%95%E0%B8%84%E0%B8%99%E0%B8%97%E0%B8%B3%E0%B8%87%E0%B8%B2%E0%B8%99/g3

 

7.ทำไม Start up ต้องการเปลี่ยนโลก

ในงานมีโซน Start up ซึ่งมีการแนะนำสตาร์ทอัพ ทั้งที่เกี่ยวและไม่เกี่ยวกับ HR มาแนะนำให้ได้รู้จักกัน ทั้ง health tech etc. ซึ่งน่าสนใจสำหรับคนที่อยากรู้จักสตาร์ทอัพ และได้ฝึกให้สตาร์ทอัพได้ออกมาโปรโมทตนเองต่อหน้าสาธารณะชน
จากการเสวนา เพิ่งเข้าใจในบัดนั้นเองว่า ทำไม start up ต้องการเปลี่ยนโลก ทำไมต้องคิดการใหญ่ ทีแรกก็เข้าใจว่า เป็น Motivation เพื่อให้คนดึงศักยภาพสูงสุดออกมา ซึ่งที่จริง ก็คงจะใช่ด้วย แต่ที่ยิ่งกว่านั้นก็คือ เพราะตลาดโลกมันเป็นตลาดใหญ่ และมีค่าคู่ควรพอสำหรับการขยายธุรกิจ ต้องคิดใหญ่ ทำเล็ก นั่นเอง
ถือเป็นงานที่ให้ข้อมูลอัพเดทที่น่าสนใจ สำหรับวงการ HR กับ Technology มีบูธเด็ดๆ และสัมมนาเด็ดๆ เยอะมาก ดูกันไม่หวัดไม่ไหว ขอบคุณ SEAC ที่แนะนำให้เข้าร่วมงานนี้คะ
Please follow and like us:
0

About pintooh

งานประจำ คือ เรียนรู้ และแบ่งปัน
> งานพิเศษ คือ ท้าทายตัวเอง
> งานอดิเรก ผูกพันกับดนตรี เกาหลี และแรงบันดาลใจทั้งปวงในโลกหล้า
::: Now I am practicing Storytelling + Vipassana + Life designing + Innovating :::

Check Also

บันทึกความทรงจำ เกี่ยวกับใครคนนั้น ที่เคยรักเมื่อ 20 ปีก่อน จนกระทั่ง..

  ในช่วงสุ …

ใส่ความเห็น

อีเมลของคุณจะไม่แสดงให้คนอื่นเห็น ช่องที่ต้องการถูกทำเครื่องหมาย *