ลิซ่า เป็นอีกหนึ่งนักพูด นักสร้างแรงบันดาลใจ เข้าถึงอารมณ์ (ฟังแล้วน้ำตาไหลไม่รู้ตัว) มีหัวใจนักสู้ชีวิตที่น่านับถือ
ที่สำคัญ เธอมีการใช้คำที่ชัดเจน บลูเรย์เรียกพี่ และแนะนำเทคนิคในการเล่าเรื่องได้เรียบง่ายและกระจ่างมาก
จากคลิปสั้นๆ ข้างบนนี้ เธอแนะนำวิธีการเล่าเรื่องที่ดีดังนี้
1. ความเต็มใจที่จะเสี่ยง (The willingness to take risk)
นักพูดบางคนอยากรักษาระดับ ไม่อยากให้มันสุดโต่งทั้งขาลง และขาขึ้น นั่นทำให้ยากจะสัมผัสไปถึงหัวใจของคนฟังได้
2. “สำแดงเรื่องราว” ไม่ใช่ “เล่า” เรื่องราว (Show not tell a story)***
เรื่องต้องชัดเจนและกระจ่างแจ้ง (Clear & Concise) [ปล. ประเด็นนี้ เปลี่ยนชีวิตเลยทีเดียว ชัดเจนมาก]
เช่น
(ถ้าฉัน “เล่าเรื่อง” = Tell) มีช่วงหนึ่งของชีวิตฉัน ที่ยากลำบากอย่างแสนสาหัส มันท้าทาย มันลำบาก ฉันไม่ค่อยมีเงิน ไม่มีหวัง อะไรก็หดหู่ไปหมด แต่ถึงจุดหนึ่ง ฉันก็เปลี่ยนชีวิต คือจุดที่ฉันตัดสินใจว่า ชีวิตจะต้องดีขึ้น
(ถ้าฉัน “สำแดงเรื่อง” = show) 6 วันใน 1 สัปดาห์ ที่ฉันต้องกินถั่วกับไส้กรอก ฉันต้องหาเงินตามตรอกซอกของโซฟา เพื่อที่จะหานมมาให้ลูก มีหลายครั้งที่หัวใจของฉันเต้นแรง ไม่รู้ว่าพรุ่งนี้ฉันจะมีอะไรกินไหม บางครั้งฉันก็ทิ้งตัว เบื่อป่วยกับเรื่องราวของฉัน ถ้าหากอนาคต ฉันยังเป็นแบบนี้ล่ะ ฉันรับไม่ได้หรอก
จะสังเกตเห็นความแตกต่างของสองวิธีการเล่าเรื่องนี้ได้ ระหว่าง “เล่า” กับ “สำแดง”
เวลาจะ “สำแดงเรื่องราว” ต้องใส่สีสัน, สิ่งที่เรา หรือตัวละครคิด, แบ่งปันประสบการณ์
ต้องเต็มใจที่จะแสดงเรื่องราว เปิดเผย
ว่าคุณคิด พูด ทำ มองเห็นอะไรในตอนนั้น
ราวกับเป็นภาพยนตร์ที่ออกมาจากปาก
ถ้าเป็นหนัง ตอนแรกก็จะบอกว่าเหตุการณ์เกิดช่วงเวลาไหน
จะสังเกตเห็นเสื้อผ้า วิธีการพูด วาดภาพที่ทำให้คนฟังได้เข้าไปอยู่ในสภาพแวดล้อมนั้น เราผ่านอะไรมาแล้วบ้าง
แทนที่จะบอกว่า ฉันโกรธ เราสามารถบอกว่า ขนที่ต้นคอของฉันลุกเกรียว ฉันรู้สึกถึงกลิ่น ฉันคิดว่าอกจะระเบิดออกมา ก่อนที่ฉันจะพูดบางอย่างที่ฉันจะต้องเสียใจไปชั่วชีวิต
อาจต้องใช้เวลาคิดคำเพื่อระบายภาพ ซึ่งคนส่วนใหญ่ไม่ทำ เพราะต้องอาศัยความเปราะบาง ความจริงกับตัวเองในสิ่งที่เราต้องการจะแบ่งปัน
(Credit: Liza Nichols)
Please follow and like us: